วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

KM World 2007: How do we make people do things?

ผมมี Slde ของ David Gurteen อยู่ชุดหนึ่ง เป็นภาษาอังกฤษ จำนวน Slide ไม่ยาวนัก มีประมาณ 19 หน้า เนื่อหาเกี่ยวกับการที่เราจะให้คนหมู่มากทำอะไร (KM)สักอย่าง ควรต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง และมีวิธีการอย่างไร โดยยกเอาแนวคิดของนักวิชาการที่มีชื่อเสียงแต่ละคนมากล่าว ซึ่งในตอนท้ายสุด Gurteen ไม่ได้สรุปชัดเจน แต่ได้ตั้งคำถามไว้ให้เราคิดและหาข้อสรุปที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคนเอาเอง

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำแนะนำสำหรับคุณอำนวยมือใหม่

ในการทำกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) บุคคลสำคัญคนหนึ่งที่มีบทบาทในการนำ และสร้างบรรยากาศให้เกิดการ ลปรร.ก็คือ คุณอำนวย หรือ Knowledge Facilitator หรือ ฟา แต่การจะเป็นคุณอำนวยที่ดีนั้น สำหรับบางคนไม่ใช่เรื่องง่าย ผมจึงขอนำบทความของ สคส. เรื่อง "เทคนิคการประุชุมระดมความคิดแลกเปลี่ยนคาวมรู้ฝังลึก" มาฝาก เผื่อว่าจะช่วยบรรดาคุณอำนวยมือใหม่ได้บ้าง โดยคราวนี้ ผมขอทดลองนำเข้าเอกสารจาก scribd.com เพื่อเป็นทางเลือกนอกเหนือจาก Slideshare.net นะครับ

สำหรับการใช้ scribd นั้น ก็คล้ายกับ slideshare ที่ผมได้แนะนำไปแล้ว แต่ในการ download เราควรต้องสมัครเป็นสมาชิกกับทางเว็บก่อน หลังจากนั้นควร upload เอกสารขึ้นไปไว้สัก 3 - 4 เรื่อง ก็จะสามารถ download เอกสารได้โดยสะดวก มิเช่นนั้นแล้ว เมื่อเรา download เอกสารไปสัก 2 - 3 เรื่อง ทางเว็บจะไม่ยอมให้เรา d/l อีก การสมัครนั้น ไม่ยากครับ การ upload ก็ไม่ต้องใช้เวลานาน เพราะ file เอกสารมีขนาดเล็กอยู่แล้ว ลองสมัครดูเถอะครับ มีประโยชน์ slideshare เอาไว้ใช้กับ powerpoint เป็นหลัก (upload เอกสารได้ด้วย) ส่วน scribd เอาไว้ใช้กับ เอกสารต่างๆ เช่น word pdf เป็นต้น

การดูเอกสารจาก scribd สามารถดูเป็น Full Screen ได้ครับ และนอกจากคุณสมบัติทั่วไปที่เหมือนกับ slideshare แล้ว ยังสามารถดูในมุมมองแบบหนังสืือ slideshow หรือ scroll ได้ด้วยครับ

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

SECI Model ฉบับพิสดาร โดย น.พ. วิจารณ์ พานิช

วันนี้จะทดลองนำเอาเอกสารจาก Slideshare.net มาลงในบล็อก ซึ่งเอกสารนี้ผมเอาลงไว้ในเว็บดังกล่าวนานแล้ว เอกสารนี้เป็นของ อ. วิจารณ์ พานิช แห่ง สคส.(สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม)ซึ่งผมชอบอ่านงานเขียนของท่านมาก เพราะมักจะสั้น กระทัดรัด และให้ข้อคิดหรือไอเดียที่ดีๆ เสมอ ถือว่าเป็นปรมาจารย์ด้าน KM ของเมืองไทยท่านหนึ่งเลยทีเดียว เรื่องที่จะนำมาให้อ่านนี้เกี่ยวกับ SECI Model ของ Nonaka ปรมาจารย์อีกท่านหนึ่ง ซึ่งดังในระดับโลก แต่บทความนี้เป็นการตีความตามความเข้าใจของท่านอาจารย์วิจารณ์ เพื่อให้มีความกระจ่างขึ้่น เหมาะสำหรับนำไปปฏิบัติ ผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่พวกเราที่จะได้เริ่มทำ KM ก้ันในตอนนี้ สำหรับการดูเอกสารนั้น สามารถดูเป็น Full Screen (เต็มจอ) ได้นะครับ โดยคลิ๊กที่ปุ่ม Full ด้านล่างทางซ้ายครับ ส่วนท่านที่จะ download เอกสาร ต้องสมัครเป็นสมาชิก Slideshare ก่อนครับ โดยกดที่ป่ม Menu แล้วจะมีรายการให้สมัครสมาชิก Slidesahre จากนั้นก็เลือก download ได้เลยครับ ฟังดูเหมือนยาก แต่ไม่ยากเลย

enjoy !!


วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การพับผ้าเช็ดมือ

การพับผ้าเช็ดมือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งบนโต๊ะอาหาร ที่ทำให้การจัดเลี้ยงอาหารมื่้อนั้นๆ ดูปรานีต สวยงาม และหรูหราขึ้น ซึ่งเรา ชาว พธ.ทร.ได้มีการสอนศิลปะประเภทนี้มานมนานแล้ว ตำราการพับผ้าเช็ดมือของเราเท่าที่หาหลักฐานได้ ก็มีอายุมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิธีการพับผ้าเช็อมือจากหนังสือ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและมีข้อจำกัด คณะครูวิชาบริการ รร.พธ.พธ.ทร.จึงได้นำความรู้ดังกล่าวที่มีอยู่ในตำราแล้ว มาผนวกกับเทคนิคความชำนาญในการพับผ้าที่ได้จากการปฏิบัติงานมานำเสนอใหม่ ในรูปแบบ vdo ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายคือ
1. ใช้เป็นสื่อการสอนให้แก่นักเรียนหลักสูตรต่างๆ ที่ยังคงศึกษาอบรมอยู่ที่ รร.พธ.ฯ
2. ใช้เป็นสื่อในการทบทวนความรู้ของนักเรียนหลักสูตรต่างๆ เมื่อสำเร็จการศึกษาอบรมและกลับไปทำงานยังหน่วยแล้ว
3. เป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับผู้ต้องการสอบแข่งขันจัดอันดับเพื่อเลื่อนฐานะ หรือสอบเพื่อเข้ารับราชการ
4. เป็นสื่อสำหรับให้หน่วยงานที่ไม่ได้รับการบรรจุกำลังพลสาย พธ. ซึ่งต้องการฝึกบุคคลากรภายในหน่วยเอง
5. หน่วยงาน ทร.ในต่างประเทศ เช่น สน.ผชท.ทร.ไทย/ต่างประเทศ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดเลี้ยงรับรองที่หน่วยอาจดำเนินการเอง
6. กำลังพลของ พธ.ทร.และุบุคคลทั่วไปที่สนใจสามารถศึกษาและฝึกหัดได้ตามอัธยาศัย

ขอเชิญชม vdo "การพับผ้าเช็ดมือ" จัดทำโดยคณะครูวิชาบริการ โรงเรียนพลาธิการ กรมพลาธิการทหารเรือครับ


รูปหงอนไก่





รูปหมวกพระฝรั่ง





รูปดอกบัว





รูปดอกพลับพลึง





รูปมงกุฏ





รูปหมวกเซียน





รูปช่อพลับพลึง





ช่อพลับพลึงแปลง





รูปรองเท้า





รูปเรือ





พัดมีด้าม


วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

น้ำพริกตะไคร้

ครูพรทิพย์ ติ่งเพชรเติม เป็นครูสอนวิชาการสหโภชน์ (การปรุงอาหาร) ในโรงเรียนพลาธิการมานานมาก มีลูกศิษย์ลูกหาหลายต่อหลายรุ่น ทั้งนักเรียนพลฯ นักเรียนจ่า และที่เป็นนายทหารก็มี ทุกคนคงจำภาพครูได้ว่า ท่านเป็นคนใจดีมาก ไม่เคยดุใคร และเป็นครูที่ตั้งใจสอนนักเรียนมากท่านหนึ่ง เมื่อโรงเรียนพลาธิการเริ่มทำ KM ใหม่ๆ ตอนนั้น จำได้ว่าท่านได้ไปเรียนวิชา "ทำน้ำพริกตะไคร้" จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพฯ (วิทยาเขตพระนครใต้) ผมเคยเกริ่นกับท่านไว้เล่นๆ ว่า ถ้าว่างละก็ อยากให้ลองมาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ของท่านโดยถ่ายทำไว้เป็นวีดีโอให้เด็กรุ่นหลังได้ดูกันบ้าง ่กระทั่งเวลาได้ผ่านไปนาน จนผมลืมเสียแล้ว แต่แล้ววันหนึ่งได้ทราบว่า ทางแผนกศึกษาฯ ได้แอบถ่ายทำวีดีโอการทำน้ำพริกตะไคร้ของท่านไว้แล้ว ซึ่งในภายหลังมีผู้มาบอกว่า ท่านควักสตางค์เป็นค่าวัสดุอุปกรณ์เองเลยทีเดียว ผมงี้ รู้สึกประทับใจจริงๆ บัดนี้ ท่านได้เกษียณไปแล้วครับ เพื่อเป็นการแสดงความระลึกถึงท่าน จึงขอนำวีดีโอการทำน้ำพริกตะไคร้ของท่านมาเผยแพร่ไว้ในบล็อกนี้ ผมในนามของโรงเรียนพลาธิการจึงอยากจะขอบคุณท่านถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านได้ทำไว้ให้แก่พวกเรา และพวกเราจะถือว่าท่านเป็นบูรพาจารย์ที่อยู่ในใจของพวกเราชาวพลาธิการตลอดไปครับ


วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เปิดตัว

หลังจากที่เล็งมานานว่าอยากจะเขียน blog กับเขาบ้าง พอได้ร้บมอบหมายให้เป็นเลขาฯ KM กรมพลาฯ ก็เลยพยายามจะหาช่องทางที่จะให้ผู้ที่จะเข้ามาร่วมขบวนการ ได้มีเวทีที่จะได้แสดงออกกันนอกเหนือไปจาก webboard ของกรมฯ ซึ่งผมเห็นว่าในระยะยาวแล้ว weblog จะเป็นสื่อที่ดีที่พวกเราชาว พธ.ทร.จะใช้ประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และอาจจะง่ายต่อการบริหาร จัดเก็บความรู้ในอนาคต ก็เลยทดลองเขียนบล็อกดู ครั้งแรกว่าจะเขียนใน gotoknow แต่อยากจะลองในบล็อกที่เราจำกัดกลุ่มสมาชิกได้ก่อน (เผื่อว่า ในอนาคต อาจมีคนมาต่อว่า ว่าเอาความลับทางราชการมาเปิดเผย) ส่วนจะ work หรือไม่ ก็ต้องดูกันต่อไปละนะ บทความนี้จึงเป็นบทความเปิดตัวเพื่อจะได้ชื่อว่ามีบล็อกเอาไว้เป็นตัวอย่างกับเขา อย่าเพิ่งเอาสาระอะไรกันมากมายเลยนะครับ