วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

องค์กรที่เรียนรู้อย่างมีความสุขแบบวิถึพุทธ

          ผมเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งของ อ.วรภัทร ภู่เจริญ เมื่ออ่านแล้วรู้สึกว่าท่านเป็นคนมีความคิดที่แปลกและเป็นตัวของตัวเองดี เนื้อหาที่นำเสนอก็เป็นการผสมผสานแนวคิดทางการบริหารและความคิดทางพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน ซึ่งถ้าจะว่ากันจริงๆ แล้ว ก็ไม่ใช่แนวคิดที่แปลกใหม่อะไร เพราะมีคนที่นำเสนอแนวคิดในลักษณะนี้อยู่แล้วนับไม่ถ้วน

          แต่อะไรที่ทำให้ อ.วรภัทรฯ มีชื่อเสียงในแวดวงการบริหารและธรรมะ ลองอ่านข้อมูลจากเว็บ http://www.kanlayanatam.com/vcd/navy_hospital/drV.htm ดูครับ

"ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะนักวิทยาศาสตร์ที่สามารถใช้หลักธรรมะเข้ามาผสมผสานในการบริหารจัดการองค์กรได้ดีเยี่ยม เคยทำงานที่องค์การนาซ่าอีกทั้งได้รับรางวัล ผลงานที่ดีที่สุดในการประชุมทางวิชาการด้านเครื่องยนต์ไอพ่นนานาชาติ ปีพ.ศ 2528 แต่วันนี้เป็นผู้สอนหลักบริหารองค์กรแนวพุทธให้กับบริษัทชั้นนำหลายบริษัท ไม่ว่าจะเป็น บริษัทเครือซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทิพยประกันภัย บริษัท สหพัฒน์ จากพื้นฐานของนักวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ในตัว ทำให้ดร.วรภัทร์ ต้องการพิสูจน์ความจริงในทางพระพุทธศาสนา และการพิสูจน์นั้นก็นำมาสู่ความเข้าใจแห่ง จิต ความคิด และสติ ซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม อีกทั้งเป็นพื้นฐานสำหรับนำหลักธรรมทางศาสนาพุทธมาประยุกต์กับการสอนหลักการบริหารอีกด้วย

ดร.วรภัทร์ ได้อธิบายถึงหลักการบริหารองค์กรแบบพุทธว่า หลักการบริหารก็เหมือนกับที่พระไตรปิฎกได้สอนไว้ พระพุทธเจ้าน่าจะเป็นบิดาแห่ง HR และ Management เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดในการบริหารองค์กรสำหรับทั้งผู้บริหารและลูกน้องคือ ต้องรู้จักสติ ซึ่งเป็นการฝึกพื้นฐาน"

          เป็นไงบ้างล่ะครับ น่าสนใจมากขึ้นบ้างไหม

          ทีนี้ลองมาชมบันทึกการบรรยายเรื่อง "องค์กรที่เรียนรู้อย่างมีความสุขแบบวิถึพุทธ" ที่ อ.วรภัทรฯ บรรยายไว้ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กันดูครับ น่าสนใจมาก แต่.. เตือนไว้ก่อนว่า ผู้ปกครองโปรดใช้ดุลยพินิจในเรื่องของภาษา เพราะอาจารย์แกออกตัวไว้ก่อนแล้วว่า แกเป็นคนพูดไม่เพราะ


องค์กรที่เรียนรู้ฯ | ดร.วรภัทร์ part1 [1/4]
 

องค์กรที่เรียนรู้ฯ | ดร.วรภัทร์ part1 [2/4]
 


องค์กรที่เรียนรู้ฯ | ดร.วรภัทร์ part1 [3/4]
 

องค์กรที่เรียนรู้ฯ | ดร.วรภัทร์ part1 [4/4]
 

องค์กรที่เรียนรู้ฯ | ดร.วรภัทร์ part2 [1/3]
 
 
องค์กรที่เรียนรู้ฯ | ดร.วรภัทร์ part2 [2/3]
 
 

องค์กรที่เรียนรู้ฯ | ดร.วรภัทร์ part2 [3/3]


องค์กรที่เรียนรู้ฯ | ดร.วรภัทร์ part3 [1/4]


องค์กรที่เรียนรู้ฯ | ดร.วรภัทร์ part3 [2/4]


องค์กรที่เรียนรู้ฯ | ดร.วรภัทร์ part3 [3/4]


องค์กรที่เรียนรู้ฯ | ดร.วรภัทร์ part3 [4/4]


องค์กรที่เรียนรู้ฯ | ดร.วรภัทร์ part4 [1/5]


องค์กรที่เรียนรู้ฯ | ดร.วรภัทร์ part4 [2/5]


องค์กรที่เรียนรู้ฯ | ดร.วรภัทร์ part4 [3/5]


องค์กรที่เรียนรู้ฯ | ดร.วรภัทร์ part4 [4/5]


องค์กรที่เรียนรู้ฯ | ดร.วรภัทร์ part4 [5/5]


องค์กรที่เรียนรู้ฯ | ดร.วรภัทร์ part5 [1/3]


องค์กรที่เรียนรู้ฯ | ดร.วรภัทร์ part5 [2/3]


องค์กรที่เรียนรู้ฯ | ดร.วรภัทร์ part5 [3/3]


ใครสนใจเกี่ยวกับตัวตนและแนวคิดของ อ.วรภัทรฯ เพิ่มเติม ลองดูคลิปรายการเจาะใจตอนนี้เพิ่มเติมได้ครับ

ดร.วรภัทร ภู่เจริญ จากนาซ่าสู่ป่าช้าเมืองไทย เจาะใจ (21-01-10) - ดูวิดีโอทั้งหมด กดที่นี่

วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เราควรต้องขออนุมัติความรู้หรือไม่


ผมคิดว่า KM ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของการรวบรวมหรือสร้างความรู้แล้วเอาไปเก็บใส่ไว้ใน โอ่ง ถัง กะละมัง ตุ่ม ฝังดินไว้แบบขุมทรัพย์ หรือเก็บเอาไว้บนหิ้งแบบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ใครก็ไปแตะต้องหรือเปลี่ยนแปลง ไม่ได้ แต่ความรู้นั้นจะต้องนำไปใช้ปฏิบัติ และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพราะโดยธรรมชาติ มันมีความเป็น Dynamic เมื่อทุกคนเกิดการเรียนรู้ ได้รับความรู้ใหม่ เขาก็จะเลือกใช้ความรู้ใหม่ทันที ดังนั้น ผมจึงไม่แน่ใจว่า ที่เรามักรวบรวมองค์ความรู้กันตอนสิ้นปี แล้วเสนอขออนุมัติใช้เป็นองค์ความรู้นั้น เป็นเรื่องที่ถูกต้องหรือไม่

จะเริ่ม KM เริ่มด้วยเรื่องอะไรดี

เมื่อว้นที่ 4 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมคณะกรรมการ KM ของ พธ.ทร. เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการของ KM Team และฝ่ายต่างๆ ผลก็ปรากฎว่ายังมีอีกหลายๆ หน่วยที่ยังคงไม่ค่อยชัดเจนหรือคิดไม่ออกว่าจะทำเรื่องอะไรดี ซึ่งเรื่องนี้ จริงๆ แล้วผมว่า มันก็เป็นเรื่องธรรมดา  ยังไม่ต้องกังวลหรือซีเรียสอะไรกับมันมากนักหรอกครับ โดยส่วนตัว ผมอยากให้การจัดการความรู้ของ พธ.ทร.เป็นแบบง่ายๆ สบายๆ และไม่จำเป็นต้องไปยึดติดกับรูปแบบมากเกินไป ซึ่งถ้ารูปแบบมันน่าสนุก ก็จะทำให้เราทำได้ต่อเนื่อง เพราะเราสนุกสนานไปก้บม้น ไม่เบื่อ หรือรู้สึกว่าเป็นภาระ

ส่วนเรื่องที่เราจะทำนั้น ความจริงมันก็มีอยู่มาก แต่การจะทำให้เกิดผลหรือได้รับความร่วมมือจากคนหมู่มากนั้น มันไม่ง่าย ดังนั้น เราก็น่าจะเลือกเรื่องที่ทำได้ง่ายๆ ก่อน ซึ่งอาจเป็นเรื่องเล็กๆ ก็ได้ โดยทำจากเรื่องเล็กไปหาเรื่องใหญ่ เรื่องง่ายไปหาเรื่องยาก โอกาสที่จะประสบความสำเร็จมันก็น่าจะมีมากขึ้น และถ้าจะให้ดีก็ลองเลือกเรื่องที่เราสนใจและสามารถทำเป็นกลุ่มได้ก็จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์และร่วมมือกัน ซึ่งจะช่วยหล่อเลี้ยงให้เราทำกิจกรรมได้นานๆ ส่วนหัวเรื่อง ผมเห็นว่า หากมันไม่เหมาะสม เราก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ ไม่ต้องกังวล การจัดการความรู้นั้น ผมว่าถ้าจะต้องมัวขออนุมัติกันก่อนว่าจะทำเรื่องอะไร ปีหนึ่งเราคงทำได้ไม่กี่เรื่อง




ผมนึกขึ้นได้ว่า เคยดูวีดีโอของ อ.ประพนธ์ ผาสุขยืด อีกเรื่องหนึ่ง ที่แนะนำเกี่ยวกับการที่จะเริ่มทำ KM ว่าเราควรจะเริ่มต้นอย่างไรดี นอกจากนี้ วิีดีโอนี้ยังให้แง่คิดและทัศนะคติเกี่ยวกับการใช้ KM ว่าควรเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตการทำงาน และอาจารย์ยังให้ความเห็นว่า เราอาจใช้ KM เป็นเครื่องมือในการทำ OD (Organization Developement) แบบยั่งยืนได้ โดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินจ้างบริษัทที่ปรึกษาหรือวิทยากรมาช่วยทำให้แต่อย่างใด