วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ผู้นำตามหลักแห่งเต๋า

ผู้นำที่ดีที่สุดคือผู้ที่ประชาชนแค่รู้ว่ามีเขาอยู่

ที่ดีรองลงมาคือผู้ที่ประชาชนรักและสรรเสริญ


รองลงมาอีกก็คือผู้ที่ประชาชนเกรงกลัว

ที่แย่ที่สุดคือผู้ที่ประชาชนเกลียดชัง

 

หากผู้นำไม่เชื่อใจผู้ใด แล้วจะมีใครเชื่อใจเขา

ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้ที่ประหยัดถ้อยคำ


เขาจะไม่พูดจาออกไปสุ่มสี่สุ่มห้า


เขาจะทำงานโดยไม่ถือประโยชน์ส่วนตน


และเมื่องานสัมฤทธิ์ผลผู้คนจะพูดพร้อมกันว่า


“พวกเราสามารถทำงานสำเร็จได้ด้วยตัวเอง”

 ข้อเตือนใจ เพื่อใช้เตือนตน

บทนี้เป็นการสอนที่ทำให้เข้าใจเรื่องภาวะนำที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วม (Participation) ได้เป็นอย่างดี เป็นการนำแบบที่เรียกว่า “นำจากข้างหลัง หรือ Leading from behind” ซึ่งไม่ได้แปลว่าไม่กล้ากลัวตายจึงไปหลบอยู่ข้างหลัง หากแต่เป็นการนำแบบ "เอื้ออำนาจ” คือฉลาดในการ Empowerment เรื่อง Empowerment นี้เป็นเรื่องที่มีผู้เข้าใจผิดกันมาก Empowerment ไม่ได้แปลว่า  ข้ามอบทุกอย่างให้เองไปทำ (ตามที่ข้าต้องการ)” เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น แสดงว่านั่นยังอยู่ในโหมดของการสั่งการและควบคุม (Command & Control) อยู่ดี Empowerment ที่แท้จริง หมายถึง Make others powerful คือ เป็นการเอื้อ เป็นการเสริม ให้คนได้ใช้ศักยภาพที่แต่ละคนมีอยู่อย่างเต็มที่ จะเห็นได้ว่าผู้นำประเภทนี้ยังต้องทำหน้าที่ ส่งเสริม สนับสนุน คือต้องเปลี่ยนบทบาทจาก คุณอำนาจ” มาเป็น คุณอำนวย” หรือ “คุณเอื้อ” ให้ได้นั่นเอง

แม้หลักสูตรการบริหารจะมีการสอนเรื่อง Leadership และ Empowerment กัน ค่อนข้างมาก หากแต่ว่ายังมีคนจำนวนไม่น้อยที่พลอยเข้าใจผิด คิดว่าการนำแบบนี้เป็นการปล่อยให้ลูกน้องทำไป โดยที่ตัวผู้นำไม่ต้องรับผิดชอบอะไร เข้าใจผิดคิดว่าเป็นการ “ปล่อยทิ้งปล่อยขว้าง” ไม่สนใจใยดี การปล่อยแบบนี้เข้าข่ายการ ปล่อยปละละเลย” ซึ่งไม่ต่างอะไรจากการ เพิกเฉย”  ซึ่งเป็นคนละความหมายกับคำว่า วางเฉย” ที่เรามักได้ยินกันเวลาพูดคำว่า อุเบกขา” อุเบกขาไม่ได้แปลว่า เฉยเมย” หากแต่เป็นการ เฉยมอง” คือยังต้อง  ตามดู” ต้องมีการ Monitor (ตามดู) อยู่ตลอดเวลา จะได้ปรับเปลี่ยน กระบวนท่า” ได้ทันท่วงที ผู้ที่ทำได้เช่นนี้จะถือว่าเป็นผู้นำที่มีความยืดหยุ่นสูง เป็นผู้นำที่ทำตามหลักแห่งเต๋าได้เป็นอย่างดี !

จาก :beyondKM

Ico64
ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/458275

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อิคุจิโร โนนากะ ผู้บุกเบิก KM เอเซีย

ใครที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการความรู้หรือ KM คงต้องเคยได้ยินชื่อ ศาสตราจารย์ โนนากะ ปรมาจารย์ด้านการจัดการความรู้ท่านหนึ่งของโลกมาบ้างไม่มากก็น้อย  ผมเคยอ่านที่ไหนสักแห่งว่า โนนากะเคยกล่าวไว้ว่า "การจัดการความรู้ (Knowledge Management)" เป็นชื่อเรียกที่ผิด ที่ถูก ควรเรียกมันว่า "การจัดการบนฐานของความรู้ (Knowledge Based Management)" จะเหมาะสมกว่า

สำหรับบางท่านที่อาจจะอยากทราบความเป็นมาหรือประวัติรวมทั้งแนวคิดของโนนากะ วันนี้ผมเลยขออนุญาตนำบทความบนเว็บไซต์ http://www.arip.co.th/  มาฝาก

ศาสตราจารย์ อิคุจิโร โนนากะ เป็นชาวญี่ปุ่น   ถือเป็นกูรูด้าน KM ชาวเอเชียที่ถือว่าได้รับการยอมรับทั่วโลก สำหรับประวัติการทำงานนั้น  เป็นอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้ที่ Haas School of Business, UC Berkeley และที่ Hitotsubashi University in Tokyo เป็นคณบดีศูนย์วิจัยด้านความรู้และนวัตกรรม (CKIR) ที่ Helsinki School และที่ Japan Advanced Institute of Science and Technology ฯลฯ  





เริ่มสนใจในเรื่องของ KM เมื่อครั้งที่กำลังเรียนระดับปริญญาเอกที่ UC Berkeley และใช้เวลากว่า 5 ปี ทำปริญญานิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ที่ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เขาก้าวสู่ตำแหน่งสุดยอดกูรู KM ก็เมื่อเขาร่วมมือกับเพื่อน Hirotaka Takeuchi และ Ken-ichi Imai ทำโครงการพัฒนาองค์กรธุรกิจในญี่ปุ่นก้าวสู่โลกนวัตกรรม ซึ่งพวกเขาพบว่าเกิดจากการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ เป็นการปฏิวัติธุรกิจและอุตสาหกรรมแบบเดิมของญี่ปุ่น ไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วย “นวัตกรรม”

โนนากะกับ Hirotaka Takeuchi ร่วมกันเขียนหนังสือที่ชื่อว่า "The Knowledge-Creating Company" เมื่อ ค.ศ.1995 และถือเป็นคัมภีร์ที่นัก KM ทั่วโลกยอมรับ หนังสือเล่มดังกล่าว นำเสนอทฤษฎี KM ด้วยกิจกรรมสำคัญ 7 ประการ ในการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร ได้แก่

1.สร้างวิสัยทัศนเกี่ยวกับความรู้
2.สร้างทีมจัดการความรู้
3.สร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเข้มข้นในกลุ่มพนักงานระดับล่าง
4.จัดการความรู้ควบไปกับกิจกรรมพัฒนาสินค้า / วิธีการใหม่ หรือพัฒนารูปแบบการทำงาน
5.เน้นการจัดการองค์กรแบบ "ใช้พนักงานระดับกลางเป็นพลังขับเคลื่อน" (middle-up-down management)
6. เปลี่ยนองค์กรไปเป็นแบบ "พหุบาท" (hypertext) และ
7.สร้างเครือข่ายความรู้กับโลกภายนอก

โนนากะเป็นนักคิด นักวิชาการจากรั้วมหาวิทยาลัย Hitotsubashi University ยุคแรกๆ ที่ผสมผสานเอาแนวคิดของ 2 บรมครูอย่าง Peter Senge กูรูการจัดการที่เน้นองค์กรแห่งการเรียนรู้กับ Peter Drucker ที่ปรมาจารย์อีกคนที่มองว่า KM เป็นกุญแจสู่การเติบโตขององค์กรในอนาคตและผลิตผลจะงอกเงยได้ก็ต้องอาศัยความรู้เป็นตัวนำมาปรับใช้และทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับหลายธุรกิจในญี่ปุ่นจนประสบความสำเร็จ


Peter Drucker

Peter Senge


 
เขาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากหลายบริษัทชั้นน้ำอย่าง ฟูจิ ซีร็อกซ์ เอ็นทีที การบริหารจัดการ KM เป็นภูมิปัญญา และฝังรากลึกอยู่ในปรัชญาองค์กรจะนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันอย่างแท้จริง

เวลาพูดถึงการบริหารจัดการความรู้ คนส่วนใหญ่จะนึกไปถึงไอที แต่โนนากะมองว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนถ้าทำความรู้จักและเข้าใจตัวตน KM อย่างถ่องแท้ จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรได้มาก 50-60% แต่ทุกวันนี้หลายองค์กรกลับไม่ได้เอาความรู้ไปใช้ให้เกิดประสิทธิผลอย่างเพียงพอ ทั้งในความเป็นจริง KM ถือเป็นทรัพย์สินที่ทรงคุณค่าสูงสุดในองค์กร


จาก : http://www.arip.co.th/businessnews.php?id=410432