วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ผู้นำตามหลักแห่งเต๋า

ผู้นำที่ดีที่สุดคือผู้ที่ประชาชนแค่รู้ว่ามีเขาอยู่

ที่ดีรองลงมาคือผู้ที่ประชาชนรักและสรรเสริญ


รองลงมาอีกก็คือผู้ที่ประชาชนเกรงกลัว

ที่แย่ที่สุดคือผู้ที่ประชาชนเกลียดชัง

 

หากผู้นำไม่เชื่อใจผู้ใด แล้วจะมีใครเชื่อใจเขา

ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้ที่ประหยัดถ้อยคำ


เขาจะไม่พูดจาออกไปสุ่มสี่สุ่มห้า


เขาจะทำงานโดยไม่ถือประโยชน์ส่วนตน


และเมื่องานสัมฤทธิ์ผลผู้คนจะพูดพร้อมกันว่า


“พวกเราสามารถทำงานสำเร็จได้ด้วยตัวเอง”

 ข้อเตือนใจ เพื่อใช้เตือนตน

บทนี้เป็นการสอนที่ทำให้เข้าใจเรื่องภาวะนำที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วม (Participation) ได้เป็นอย่างดี เป็นการนำแบบที่เรียกว่า “นำจากข้างหลัง หรือ Leading from behind” ซึ่งไม่ได้แปลว่าไม่กล้ากลัวตายจึงไปหลบอยู่ข้างหลัง หากแต่เป็นการนำแบบ "เอื้ออำนาจ” คือฉลาดในการ Empowerment เรื่อง Empowerment นี้เป็นเรื่องที่มีผู้เข้าใจผิดกันมาก Empowerment ไม่ได้แปลว่า  ข้ามอบทุกอย่างให้เองไปทำ (ตามที่ข้าต้องการ)” เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น แสดงว่านั่นยังอยู่ในโหมดของการสั่งการและควบคุม (Command & Control) อยู่ดี Empowerment ที่แท้จริง หมายถึง Make others powerful คือ เป็นการเอื้อ เป็นการเสริม ให้คนได้ใช้ศักยภาพที่แต่ละคนมีอยู่อย่างเต็มที่ จะเห็นได้ว่าผู้นำประเภทนี้ยังต้องทำหน้าที่ ส่งเสริม สนับสนุน คือต้องเปลี่ยนบทบาทจาก คุณอำนาจ” มาเป็น คุณอำนวย” หรือ “คุณเอื้อ” ให้ได้นั่นเอง

แม้หลักสูตรการบริหารจะมีการสอนเรื่อง Leadership และ Empowerment กัน ค่อนข้างมาก หากแต่ว่ายังมีคนจำนวนไม่น้อยที่พลอยเข้าใจผิด คิดว่าการนำแบบนี้เป็นการปล่อยให้ลูกน้องทำไป โดยที่ตัวผู้นำไม่ต้องรับผิดชอบอะไร เข้าใจผิดคิดว่าเป็นการ “ปล่อยทิ้งปล่อยขว้าง” ไม่สนใจใยดี การปล่อยแบบนี้เข้าข่ายการ ปล่อยปละละเลย” ซึ่งไม่ต่างอะไรจากการ เพิกเฉย”  ซึ่งเป็นคนละความหมายกับคำว่า วางเฉย” ที่เรามักได้ยินกันเวลาพูดคำว่า อุเบกขา” อุเบกขาไม่ได้แปลว่า เฉยเมย” หากแต่เป็นการ เฉยมอง” คือยังต้อง  ตามดู” ต้องมีการ Monitor (ตามดู) อยู่ตลอดเวลา จะได้ปรับเปลี่ยน กระบวนท่า” ได้ทันท่วงที ผู้ที่ทำได้เช่นนี้จะถือว่าเป็นผู้นำที่มีความยืดหยุ่นสูง เป็นผู้นำที่ทำตามหลักแห่งเต๋าได้เป็นอย่างดี !

จาก :beyondKM

Ico64
ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/458275