วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

The Living Company : บทเรียน KM/LO จากนก

           นาย Arie DeGeus ได้เล่าเรื่องนี้ในหนังสือชื่อ “The Living Company” ซึ่งได้อธิบายพฤติกรรมที่ต่างกันของนก 2 ชนิด ที่มีผลต่อการวิวัฒนาการทางสังคมโดยรวม นก 2 ชนิดที่มีผลต่อการวิวัฒนาการทางสังคมและเผ่าพันธุ์โดยรวม นก 2 ชนิดนี้ นกทิดเม้าส์ และนกเรดโรบิน ซึ่งจัดเป็น songbird คือนกที่มีเสียงที่ไพเราะ

Red Robin

titmouse

           ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 นมสดที่ส่งตามบ้านในประเทศอังกฤษ เป็นขวดนมปากกว้างไม่มีฝาปิด โดยจะวางไว้ที่ประตูบ้านในตอนเช้ามืด พบว่านกทั้ง 2 ชนิด จะมาจิกกินครีมที่ลอยตัวขึ้นมาส่วนบนของนม และได้ประโยชน์จากคุณค่าทางอาหารที่สูงของครีมนี้แก่ประชากรนกทั้งทิดเม้าส์ และเรดโรบิน

          การเรียนรู้วิธีดูดกินครีมนี้ นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่เป็นความสำเร็จ และเกิดผลในแง่วิวัฒนาการของเผ่าพันธุ์ด้วยเพราะคุณค่าทางอาหารของครีมนี้สูงกว่าอาหารปกติที่มันกินอยู่  ครีมนี้ได้ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนในระบบการย่อยของมันต่อการใช้ประโยชน์อาหารที่ผิดไปจากปกติของมัน
   
          ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่1 ขวดนมทั้งหมดได้ถูกผนึกโดยฝาฟอยด์หรืออะลูมิเนียมบางๆ

          มาจนถึงช่วงต้นๆ ของทศวรรษ 1950 พบว่าประชากรของทิดเม้าส์ ทั้งหมดในอังกฤษประมาณ 1 ล้านตัวได้เรียนรู้การเจอะฝาขวดนมทุกตัว และทำให้ประชากรนกทิดเม้าส์ทั้งหมดได้ประโยชน์จากอาหารที่ดีนี้อย่างทั่วหน้า มันมีผลส่งให้มีความแข็งแกร่งต่อการอยู่รอดอย่างเป็นต่อ ในทางตรงกันข้าม เรดโรบินเมื่อพิจารณาทั้งกลุ่มสายพันธุ์ของมัน ปรากฏว่าไม่สามารถเจาะฝาขวดนมเพื่อกินครีมได้ทั้งนี้ในบางครั้งเรดโรบิน บางตัวได้เรียนรู้และค้นพบวิธีเจาะฝานม แต่ความรู้นี้ (Knowledge) ไม่เคยถูกถ่ายทอดไปให้เรดโรบินตัวอื่นๆในกลุ่มพันธุ์ของมัน


          โดยย่อ นกทิดเม้าส์ ได้ประสบความสำเร็จในขบวนการเรียนรู้ในระดับองค์การอย่างดีเยี่ยม แต่สำหรับเรดโรบิน เป็นความล้มเหลว ทั้งๆที่ได้มี นกเรดโรบิน บางตัว มีความสามารถมาก มีความคิดเชิงนวัตกรรมได้เทียบเท่ากับนกทิดเม้าส์ ยิ่งไปกว่านั้นความแตกต่างของความสำเร็จในขบวนการเรียนรู้ในระดับองค์กร ไม่ได้เกิดจากความแตกต่างในความสามารถของการสื่อสาร (Ability to communication) เพราะด้วยความเป็น songbirds ทั้ง 2 ชนิด มีวิธีการสื่อสารแบบนกที่มากมายและไม่ต่างกัน ไม่ว่าในเรื่องของสีตัว พฤติกรรม การเคลื่อนไหวและเสียงร้อง

          คำอธิบายในเรื่องความแตกต่างนี้ได้ถูกอธิบายว่า “สามารถอธิบายได้จากเรื่องของ Social propagation เพียงอย่างเดียวว่าทิดเม้าส์ได้กระจายทักษะ (อันเกิดจากนวัตกรรม) จากนกตัวเดียวผ่านไปยังสมาชิกนกทั้งหมดในประชากรของมัน” ในฤดูใบไม้ผลิ ทิดเม้าส์จะอยู่เป็นคู่เพื่อเลี้ยงลูกน้อย เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ลูกนกโตและดูแลตัวเองได้ เราจะพบมันบินจากส่วนหนึ่งไปอีกส่วนหนึ่งเป็นฝูงๆ ฝูงละ 8-10 ตัว ทิดเม้าส์เหล่านี้จะคงอยู่ในฝูงของมัน บินไปตามชนบท และระยะเวลาของ mobility นี้ยาวประมาณ 2-3 เดือน

          ในทางตรงกันข้าม เรดโรบิน เป็นนกที่อยู่แบบมีอาณาเขต เรดโรบินตัวผู้จะไม่ยอมให้ตัวผู้ตัวอื่น ล่วงล้ำอาณาเขตของมัน ในการข่มขู่ตัวผู้อื่น เรดโรบินจะส่งสัญญาณเตือน สื่อเหมือนกับว่า”ไสหัวไปให้พ้นจากเขตของข้า” โดยปกติเรดโรบินจะสื่อสารกันในเชิงปะทะหรือหักหาญกัน (antagonistic manner) ประกอบกับการมีที่อยู่อาศัยที่ไม่ล้ำเส้นกัน

         เขาสรุปได้ว่า สังคมของนกทิดเม้าส์เป็นตัวแทนขององค์กรแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning Society ด้วยคุณสมบัติพิเศษ 3 ประการ นั่นคือ
  1. Innovation (นวัตกรรม) สัตว์จะเป็นตัวหนึ่งๆ หรือทั้งสังคมของมัน จะต้องมีความสามารถหรืออย่างน้อยมีศักยภาพที่จะคิดประดิษฐ์พฤติกรรมใหม่ๆ มันสามารถพัฒนาทักษะที่ทำให้มัน สามารถใช้ประโยชน์สภาวะรอบๆตัวมันโดยวิธีใหม่ๆ
  2. Social propagation (การสื่อสารในสังคม) มันจะต้องมีวิธีการถ่ายทอดทักษะจากสัตว์ตัวหนึ่งๆ ไปยังตัวอื่นๆ ในสังคมนี้ ทั้งนี้ไม่ใช่ผ่านทางพันธุกรรม แต่เป็นการสื่อสารกันตรงๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง
  3. Mobility (การเคลื่อนที่ไปมา) สัตว์เหล่านั้นต้องมีความสามารถในการเคลื่อนที่ไปมาได้สะดวกและที่สำคัญยิ่งกว่านั้น มันต้องใช้ความสามารถอันนี้ไปโดยการเคลื่อนที่ไปเป็นฝูง มากกว่าการอยู่อย่างเดี่ยวๆ ในอาณาเขต (territories) ที่อยู่กันห่างๆ
          บทสรุป ถ้าเราเอาหลัก สังคหวัตถุมาจับ จะพบว่านกทิดเม้าส์ ได้มีเหตุปัจจัยทั้ง 4 อย่างทั่วหน้า ส่งผลให้สังคมที่รู้รักสามัคคี และผลพวงนี้ได้เป็นเหตุปัจจัยต่อให้สังคม มีความก้าวหน้าเกิดประโยชน์ต่อประชากรอย่างทั่วหน้าในนวัตกรรมที่เกิดขึ้น เพราะโครงสร้างสังคมเป็น Learning society ส่วนนกเรดโรบิน มีความพร่องในสังคหวัตถุ 4 ทุกข้อเป็นเหตุปัจจัยให้ความรู้ดีๆ หรือนวัตกรรมที่เกิดมีขึ้นคงอยู่เฉพาะตัว ไม่มีกลไกทางสังคมที่จะถ่ายทอดให้กว้างกระจายและเป็นประโยชน์ แก่ประชากรทั้งมวล ถ้าสังคมของเรดโรบิน ฟองสบู่แตกแบบสังคมไทย ความเลวร้ายหายนะและความล่มสลายของประชากรมันคงจะเด่นชัดขึ้น

          เราจะให้สังคมของเราเป็นแบบทิดเม้าส์หรือเรดโรบิน

ดำรง ลีนานุรักษ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

หลักธรรมที่เรียกว่า สังคหะทาน หรือการให้ด้วยเมตตากรุณา การแบ่งปัน
ปิยวาจา การพูดจาต่อกันโดยสุภาพไพเราะด้วยความหวังดีเป็นการยึดเหนี่ยวน้ำใจต่อกัน
อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์เอากำลังกายของเราช่วยเหลือทำประโยชน์แก่ผู้อื่น
สมานัตตตา การวางตนอยู่ร่วมกับเขาให้ได้ ให้กลมกลืนกันไป วางตัวให้เหมาะสมกับฐานะ และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอมีความไม่ถือเนื้อถือตัว

จากหนังสือพิมพ์ มติชน ฉบับวันอาทิตย์ ที่ 15 ตุลาคม 2549

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น