วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

จุดอ่อนของการใช้การจัดการความรู้ในหน่วยราชการ

         การจัดการความรู้ได้เข้ามาอยู่ในระบบราชการไทยมาหลายปีแล้ว ซึ่งพวกเราก็ได้ประสบปัญหาและอุปสรรคข้อขัดข้องในการดำเนินการมากมาย และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่มีผู้รวบรวมไว้ใน wikipedia ครับ

         "เท่าที่ผ่านมายังมีหน่วยงานราชการไทยอีกมากมายที่ไม่สามารถใช้ การจัดการความรู้ (KM) ให้มีประโยชน์ต่องาน คน และองค์กรของตัวเอง อาจเป็นเพราะทำไปผิดทาง หรือ ตกหลุมพลางอันใหญ่ หลายอย่าง เช่น


1.ผู้บริหารยังยึดติดอยู๋ในวัฒนธรรมอำนาจ หรือโครงสร้างแบบสามเหลี่ยม ทำงานแบบ (Top-down) ไม่ยอมรับหรือเปิดโอกาสให้บุคคลากรได้ร่วมคิดและแสดงความคิดเห็น

2.ผู้บริหารที่ต้องการผลงาน หรือผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว ใจร้อน โดยไม่สนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ คือวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และวัฒนธรรมการทำงานแบบร่วมคิด ร่วมทำ

3.องค์กรไม่มีเป้าหมายในการใช้ KM ร่วมกัน หรือ เป้าหมายที่จะนำ KM ไปใช้ เป็นเป้าหมายที่ไม่มีพลัง ไม่น่าสนใจ ไม่ก่อเกิดประโยชน์ให้กับใคร (หัวปลา ไม่ดี)

4.องค์กรยึดเอา KM เป็นตัวเป้าหมายเสียเอง ทำให้การใช้ KM ลอยๆ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ไม่มีจุดมุ่งหมาย

5.องค์กรใช้ KM แบบหลอกลวง คือ ทำไม่จริง แต่ทำเพียงเพื่อให้ผ่านเกณฑ์การประเมินตามตัวชี้วัดของ ก.พ.ร.

6.ยึดติดในรูปแบบ หรือ ทฤษฎี KM แบบใดแบบหนึ่ง และทำโดยไม่พลิกแพลง หรือปรับให้เข้ากับคน วัฒนธรรม และวิถีการทำงานขององค์กร

7.องค์กรขาด "คุณอำนวย" หรือ ผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดบรรยากาศ และกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

8.คนในองค์กรยังไม่เห็นคุณค่าใน "Tacit Knowledge" หรือ ความรู้ซ่อนเร้น ในตัวคน ที่ได้มาจากประสบการณ์จริง ได้มาจากการทำงานจริง ความรู้ที่เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย หรือแม้กระทั่งยังไม่เห็นคุณค่าของคนทำงานภายในองค์กรด้วยกันเอง

9.คนในองค์กรยังชอบ หรือหลงบูชา ความรู้ที่เป็น "Explicit Knowledge" หรือ ความรู้ชัดแจ้ง เพียงอย่างเดียวเพราะเห็นว่า "ความรู้" ต้องเป็นสิ่งที่พิสูจน์หรือผ่านการวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญมาแล้วเท่านั้นจึงจะเชื่อถือได้ หรือนับถือและเชื่อในความรู้ของคนต่างชาติมากกว่า

10.หลงว่าการจัดการความรู้ ต้องใช้ ICT เท่านั้น มีการลงทุนกับเทคโนโลยีที่มากจนเกินไป

11.คนในองค์กร อยากจะรู้เรื่อง KM ให้ชัดเจนจนละเอียดแจ่มแจ้งเสียก่อน จากการอบรม บรรยาย หรือการอ่านหนังสือ ฯลฯ โดยยังไม่คิดจะทำจริง หรือทดลองทำ ซึ่งการเข้าใจ KM หรือ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้ได้อย่างละเอียดชัดเจน เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากถ้าไม่ลงมือปฏิบัติ (ผู้ปฏิบัติ คือ ผู้รู้จริง)

12.คิดกลัว หรือกังวล ในอุปสรรคต่างๆ นานาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต จนท้อใจและไม่สามารถเริ่มปฏิบัติได้ ซึ่งการคิดและระมัดระวังอย่างรอบด้านเป็นสิ่งที่ดีในการวางแผน แต่ไม่ควรนำมาปิดกั้นความมุ่งมั่น และการเดินหน้าไปสู่ความสำเร็จที่ตั้งใจไว้"
 
ที่มา : wikipedia - การจัดการความรู้ในภาคราชการ


      เราน่าจะลองสำรวจกันดูบ้างนะครับว่า การจัดการความรู้ในองค์กรของเราเป็นอย่างที่ว่านี้บ้่างหรือไม่  และก็น่าจะลองช่วยกันคิดกันว่า เราควรจะใช้ KM กันต่อไปอย่างไรดี

cartoon marine
อ้าว ! ยังไม่ลงมือทำ KM อีกหรือ ? ยึดพี้น 50



1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ12 มกราคม 2554 เวลา 15:12

    วัฒนธรรมข้าราชการ เป้นอุปสรรคเปล่า?

    ตอบลบ